ความหมายของสาร อิออน ตอนที่ 5

1.สารอิออน (Ionic Substances)  นอกจากอะตอมและโมเลกุล  ยังมีอนุภาคชนิดที่สามที่เกิดในสาร  โดยเรียกอนุภาคนี้ว่า  “อิออน”  อิออนก็คือ อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่สามารถนำประจุไฟฟ้าได้

9.2.2 โมล (Mole)

สมมติว่ามีคลอรีนที่ก้นสระน้ำเราสามารถหาน้ำหนักอะตอมของส่วนประกอบคลอรีนซึ่งแยกได้ดังนี้  Ca  เท่ากับ 40.08 amu , Cl เท่ากับ 35.453 amu  แต่ก็ยังมีปัญหาตรงที่เราใช้น้ำหนักอะตอม  น้ำหนักโมเลกุล และน้ำหนักของสูตรเคมี เพื่อเปรียบเทียบมวลของสาร  ในห้องทดลองส่วนมากจะใช้หน่วยวัดกรัมเพื่อวัดน้ำหนักมากกว่า amu  (atom mass unit)  แต่หากต้องการรู้จำนวนอะตอมของสารเราจะทราบได้อย่างไร

พิจารณาช้อนชาที่มีน้ำอยู่เต็ม  เราพบว่าจะมีโมเลกุลของน้ำจำนวนมากมายที่อยู่ในนี้  (ประมาณ  1.7 x 1023) สมมติว่าต้องการวัดน้ำในมหาสมุทรบนโลกทั้งหมด  การวัดด้วยจำนวนดังกล่าวจึงมากและเทอะทะ จึงต้องใช้วิธีในการวัดจำนวนสารที่มากกว่าจำนวนของหน่วยสูตรเคมีหรือสูตรโมเลกุล (ในทางปฏิบัติเรานับไข่เป็นหน่วยโหล กระดาษเป็นรีม  หรือ 500  แผ่น  ที่คลิป กระดาษเป็นกุรุส  หรือ 144 อัน  ทำให้ง่ายต่อการนับจำนวนของมากกว่าจะนับเป็นอัน)

เพื่อหลีกเลี่ยงการนับจำนวนที่มากเกินไปเมื่อทำการวัดสาร  เราจึงใช้หน่วยที่เรียกว่า  “โมล” โดยหนึ่งโมลประกอบไปด้วย  6.022 x 1023    อะตอมโมเลกุล  หรือหน่วยของสูตรเคมี  ในการกำหนดค่านี้จะเรียกว่า “จำนวนอะโวกาโดร”  ซึ่งเราจะได้ยินบ่อย ๆ  ในงานที่เกี่ยวข้องกับการวัดสาร  หรือจำนวนอะตอมหรือโมเลกุล

Securite ผู้นำเข้าและจำหน่าย อุปกรณ์ safety ทุกชนิด เช่น แว่นตานิรภัย รองเท้า safety เข็มขัดนิรภัย ถุงมือนิรภัย หมวกนิรภัย เครื่องขยายเสียง เครื่องป้องกันหู เครื่องล้างตา เครื่องวัดแก๊ซ มีทั้งสินค้านำเข้า และสินค้าราคาย่อมเยา

สนใจเครื่องวัดแก๊ซ คลิกเลย!!!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *