หนังรองเท้า
เป็นพื้นผิวชั้นนอกสุดของรองเท้าจะประกอบด้วยส่วนด้านหน้า ส่วนด้านข้างและส่วนหลังส้นรองเท้า โดยวัสดุที่นิยมใช้ผลิตหนังรองเท้านิรภัยในปัจจุบันมีดังนี้
หนังแท้ (Genuine Leather)
หนังแท้ (Genuine Leather) เป็นหนังรองที่ทำจากหนังสัตว์ โดยหนังวัวและหนังควายนั้นเป็นหนังรองเท้าที่นิยมนำมาใช้ผลิตกันมากที่สุด เพราะเป็นหนังสัตว์ที่มีความทนทานและราคาถูกกว่าหนังสัตว์ประเภทอื่นๆ ทั้งนี้หนังวัวกับหนังควายยังมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ทำให้ในบางครั้งสามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้
หนังเทียม (Synthetic Leather)
หนังเทียม (Synthetic Leather) เป็นหนังรองเท้าที่พัฒนามาจากสารสังเคราะห์ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับหนังแท้ เพื่อนำมาใช้ทดแทนกันได้ โดยวัสดุที่นำมาใช้ผลิตหนังเทียมมีหลักๆ อยู่ 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีผิวสัมผัสและคุณสมบัติความทนทานต่อสภาวะการใช้งานต่างๆ ได้ดีแตกต่างกัน
หนังไมโครไฟเบอร์ (Microfiber Leather)
หนังไมโครไฟเบอร์ (Microfiber Leather) หนังสังเคราะห์คุณภาพสูงที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ขนาดเล็กให้มีโครงสร้างเหมือนหนังแท้ มีความทนทานและความยืดหยุ่น ระบายอากาศได้ดี และมีน้ำหนักเบากว่าหนังแท้ รวมถึงมีอายุการใช้งานยาวนาน แต่หนังเนียมชนิดนี้ไม่สามารถทนต่อสเก็ดไฟได้เช่นเดียวกับหนังแท้
หนังเทียม PU (PU Leather)
หนังเทียม PU (PU Leather) เป็นหนังรองเท้าที่ผลิตจากโพลียูรีเทน มีผิวสัมผัสและความทนทานคล้ายคลึงกับหนังแท้ ดูแลรักษาง่าย
หนังเทียม PVC (PVC Leather)
หนังเทียม PVC (PVC Leather) เป็นวัสดุกันน้ำ ทนน้ำมัน ทนต่อความร้อน พื้นผิวสม่ำเสมอ ไม่เสียเศษ ผิวสัมผัสแข็งกว่าหนังเทียม PU ทำความสะอาดง่าย อายุใช้งานยาวนาน
วัสดุผ้า (Fabric)
วัสดุผ้า (Fabric) เป็นวัสดุที่สามารถผลิตได้ทั้งเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ โดยนำเส้นใยมาปั่น ถัก หรือทอให้ออกมาเป็นรูปแบบผืนผ้า มีโครงสร้างหลายแบบ ซึ่งในแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติที่ดีหลายด้านและแตกต่างจากหนังแท้และหนังเทียม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักที่เบากว่า มีความยืดหยุ่น กระชับเท้า สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี และซักทำความสะอาดได้ง่าย จึงเป็นอีกวัสดุที่ถูกนำมาใช้ทำรองเท้าเซฟตี้ทรงสปอร์ต หรือ รองเท้าเซฟตี้สไตล์สนีกเกอร์ ที่ทำให้การใส่รองเท้าเซฟตี้มีความสะดวกสบายและดีไซน์สวยทันสมัยขึ้น
ผ้าใบ (Canvas Fabric)
ผ้าใบ (Canvas Fabric) เป็นวัสดุที่มีความทนทาน ระบายอากาศได้ดี น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น สวมใส่สบาย ช่วยลดการเมื่อยล้าได้ ซึ่งนิยมใช้ในการผลิตรองเท้าเซฟตี้ประเภทผ้าใบ หรือชื่อเรียกอื่นๆ ว่ารองเท้าเซฟตี้สนีกเกอร์ และรองเท้าเซฟตี้ทรงสปอร์ต
ผ้าถัก (Knit Fabric)
ผ้าถัก (Knit Fabric) โครงสร้างของผ้าถักมีความกระชับเหมือนกับการใส่ถุงเท้า เพิ่มความคล่องตัวมากขึ้น มีน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย จึงนิยมใช้ในการผลิตหนังรองเท้าเซฟตี้ผ้าใบเช่นกัน
ผ้าตาข่าย (Mesh Fabric)
ผ้าตาข่าย (Mesh Fabric) เป็นผ้าสามารถระบายอากาศได้ดี น้ำหนักเบา สวมใส่สบาย นิยมใช้เสริมในรองเท้าเซฟตี้ประเภทผ้าใบ
หัวรองเท้า (Toe Cap)
หัวรองเท้า (Toe Cap) หรือชื่อเรียกอื่นว่าหัวบัวมีหน้าที่ในการป้องกันปลายเท้าของผู้สวมใส่ได้รับบาดเจ็บ ช่วยป้องกันเท้าจากแรงบีบและแรงกระแทก โดยวัสดุที่ใช้ทำหัวรองเท้าที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมีดังนี้
หัวเหล็ก (Steel Toe Cap)
หัวเหล็ก (Steel Toe Cap) มีความแข็งแรงทนทานและน้ำหนักมากว่าหัวรองเท้าแบบอื่น กันกระแทก 200J และป้องกันแรงกดทับ 300kN ซึ่งเทียบเท่ากับรถบรรทุกสี่ล้อเหยียบทับและกันแรงกระแทกจากวัตถุที่มีน้ำหนัก 20 กก. ตกใส่จากความสูง 100 ซม.หรือระดับหน้าอกโดยประมาณ โดยมีมาตราฐาน CE, JIS, EN, GB และ TIS (มอก.) รองรับ
หัวอลูมิเนียม (Aluminium Toe Cap)
หัวอลูมิเนียม (Aluminium Toe Cap) หรือหัวอัลลอย (Alloy) เป็นวัสดุโลหะที่มีคุณสมบัติป้องกันปลายเท้าได้เทียบเท่าและมีน้ำหนักเบากว่าหัวเหล็ก
หัวคอมโพสิต (Composite Toe Cap)
หัวคอมโพสิต (Composite Toe Cap) เป็นหัวรองเท้าเทอร์โมพลาสติก หรือวัสดุที่ไม่มีโลหะผสม มีคุณสมบัติไม่นำไฟฟ้า สามารถใส่เดินในสถานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย มีน้ำหนักค่อนข้างเบาและราคาสูงกว่าหัวเหล็ก
หัวเรซิ่น (Resin Toe Cap)
หัวเรซิ่น (Resin Toe Cap) เป็นหัวรองเท้าที่มีความยืดหยุ่น ไม่บีบรัดหน้าเท้า ไม่เป็นวัสดุนำไฟฟ้า และเป็นหัวรองเท้าที่ผ่านการทดสอบกันกระแทกและแรงบีบอัดจากมาตรฐานญี่ปุ่น JIS และ JSAA โดยมีคุณสมบัติในการต้านแรงกระแทก 70J ป้องกันแรงบีบอัด 10kN หรือเทียบเท่ากับรถอีโคคาร์ (Eco Car) คันเล็กเหยียบทับ และการทดสอบความทนแรงกระแทกจากวัตถุที่มีน้ำหนัก 20 กก. ตกใส่จากความสูงระดับหัวเข่า หรือ 36 ซม.
วัสดุแผ่นเสริมพื้นป้องกันการเจาะทะลุ (Penetration Sheet)
เป็นวัสดุเสริมพื้นรองเท้าเพื่อป้องกันของมีแหลมหรือของมีคมต่างๆ ที่อยู่ตามพื้นทางเดิน โดยรองเท้าเซฟตี้ที่มีการเสริมพื้นป้องกันการเจาะทะลุต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ และต้องมีสัญลักษณ์ที่ด้านหลัง
พื้นเสริมเหล็ก
พื้นเสริมเหล็ก เป็นวัสดุพื้นฐานที่นำมาเสริมพื้นรองเท้าเพื่อป้องกันการเจาะทะลุ พื้นทำจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูง มีความแข็งแรงทนทานพิเศษ พื้นผิวแข็งและมีความต้านทานต่อการสึกหรอสูง
พื้นเสริมพลาสติกสมรรถนะสูง
พื้นเสริมพลาสติกสมรรถนะสูง เป็นวัสดุเสริมพื้นรองเท้าอีกทางเลือก ซึ่งทำจากโพลีเอทิลีนหรือพลาสติก PE ที่มีโครงสร้างสานกันจนแน่นหนา มีความแข็งแรงและทนทานต่อการเจาะทะลุได้ดี นิยมใช้เสริมในรองเท้าเซฟตี้สำหรับงานที่ไม่ต้องการให้มีโลหะเป็นส่วนผสม เช่น งานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า หรืองานตามสนามที่มีการผ่านเครื่องตรวจจับโลหะ เป็นต้น
วัสดุป้องกันส่วนบน (Upper)
เป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนบนเท้าทั้งหมดตั้งแต่ปลายเท้า หลังเท้าและไล่ไปถึงส้นเท้า เป็นแผ่นบนหลังเท้าออกแบบมาเพื่อป้องกันกระดูกหลังเท้าและลดอาการบาดเจ็บจากวัตถุสิ่งของตกใส่ได้
พื้นรองเท้า (Sole)
เป็นส่วนที่มีความต้านทานความร้อน ต้านทานการเสียดสี การดูดซับแรงกระแทก และต้านทานต่อน้ำมัน สารละลายและสารเคมีตามที่กำหนดไว้ โดยวัสดุที่ใช้ผลิตพื้นรองเท้าเซฟตี้มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่ทนต่อสภาพแวดล้อมการทำงานได้ดีแตกต่างกัน
พื้นยางไนไตร (Nitrile Rubber)
พื้นยางไนไตร (Nitrile Rubber หรือ NBR) เป็นพื้นรองเท้าที่ค่อนข้างมีน้ำหนักกว่าวัสดุชนิดอื่น มีคุณสมบัติทนต่อการเสียดสี กันลื่น กันน้ำมัน ทนสารเคมีได้หลายชนิด และทนความร้อนได้สูงกว่า 300 องศาเซลเซียส ทนทาน มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวกับความร้อน
พื้นยางโพลียูรีเทน (Polyurethane Rubber)
พื้นยางโพลียูรีเทน (Polyurethane Rubber หรือ PU) เป็นพื้นรองเท้าที่มีคุณสมบัติทนน้ำมัน ทนสารเคมี มีความต้านทานการสึกหรอ กันไฟฟ้าสถิต ป้องกันการลื่นและลดเเรงกระเเทกได้ดี นอกจากนี้รองเท้านิรภัยพื้น PU ยังมีทั้งแบบพื้น PU ชั้นเดียว และแบบพื้น PU สองชั้นอีกด้วย
พื้นยางพีวีซี (Polyvinyl Chloride Rubber
พื้นยางพีวีซี (Polyvinyl Chloride Rubber หรือ PVC) มีลักษณะเป็นพื้นแข็ง มีน้ำหนักเบา กันน้ำ กันน้ำมันและไขมันได้ดี มีคุณสมบัติในการป้องกันสารเคมี แต่แรงยึดเกาะต่ำกว่าพื้นรองเท้าชนิดอื่น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกันลื่นลดลง
พื้นยางเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic Rubber)
พื้นยางเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic Rubber หรือ TPR) เป็นวัสดุกันน้ำมัน ทนสารเคมี กรด ด่าง และตัวทำละลาย ทนต่อการฉีกขาด พื้นรองเท้ามีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงเสียดสีสูง ดูดซับแรงกระแทก และช่วยลดอาการเมื่อยล้าได้ดี
พื้นยางผสม
พื้นยางผสมเป็นพื้นรองเท้ายางที่มีความเหนียว มีความต้านทานต่อแรงดึงและริ้วรอยได้ดี มีคุณสมบัติทนต่อสารเคมี กรด ด่างและสารละลายต่างๆ ได้สูงกว่าพื้นรองเท้าทั่วไป
เครื่องหมายมาตรฐานหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัย
เป็นสิ่งที่ใช้ระบุถึงคุณภาพการป้องกันของรองเท้านิรภัย ซึ่งจะต้องผ่านการทดสอบตามข้อบังคับที่มาตรฐานกำหนด โดยสัญลักษณ์และข้อกำหนดอาจแตกต่างกันไปตามกฎหมายและมาตรฐานรองเท้านิรภัยแต่ละประเทศ
รูปแบบของรองเท้านิรภัย
รองเท้าเซฟตี้หุ้มส้น (Low Shoe)
รองเท้าเซฟตี้หุ้มส้นเป็นรูปแบบมาตรฐาน สวมใส่ง่าย สะดวกสบาย มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน เช่น รองเท้าผ้าใบ รองเท้าหนังสัตว์ รองเท้าหนังเทียม เป็นต้น
รองเท้าบูทเซฟตี้หุ้มข้อ (Ankle Boot)
รองเท้าบูทเซฟตี้หุ้มข้อ ส่วนบนจะปกคลุมหุ้มข้อเท้าพอดี ช่วยป้องกันทั้งเท้าและข้อเท้าจากสิ่งสกปรกหรือแรงกระแทกต่างๆ จากรอบตัวได้ดี
รองเท้าบูทเซฟตี้ครึ่งหน้าแข้ง (Half Knee Boot)
รองเท้าบูทเซฟตี้ครึ่งหน้าแข้ง ส่วนบนจะปกคลุมบริเวณหน้าขามาครึ่งหน้าแข้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันมากยิ่งขึ้น
รองเท้าบูทเซฟตี้แบบเต็มแข้ง (Knee Height Boot)
รองเท้าบูทเซฟตี้แบบเต็มแข้ง ส่วนขารองเท้าจะยาวจนเต็มหน้าแข้ง เพิ่มพื้นทีป้องกันมากขึ้น
รองเท้าบูทเซฟตี้แบบเต็มขา (Thigh Boot)
รองเท้าบูทเซฟตี้แบบเต็มขามีลักษณะเป็นรองเท้าบูทที่มีช่วงขายาวคลุมถึงหัวเข่าหรือต้นขา นิยมใช้ในงานไฟฟ้า งานดับเพลิงและอื่นๆ
ประเภทของรองเท้าเซฟตี้ – รองเท้านิรภัยตามลักษณะงาน
รองเท้านิรภัยหัวรองเท้าป้องกันการกระแทก
รองเท้านิรภัยหัวรองเท้าป้องกันการกระแทกเป็นรองเท้าหนังนิรภัยหัวเหล็กหรือโลหะ โดยหัวรองเท้าจะเป็นเหล็กครอบป้องกันบริเวณนิ้วเท้าทั้งหมด ป้องกันการกระแทกขณะเดินหรือจากของหล่นทับได้ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่เกิดระหว่างการทำงานได้
รองเท้านิรภัยงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า
รองเท้านิรภัยงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าเป็นรองเท้าชนิดนี้ต้องมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี ป้องกันเหงื่อหรือที่เปียกชื่นของบริเวณเท้าและฝ่าเท้า ซึ่งเหงื่อและความเปียกชื่นเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกายได้ดี รองเท้าที่ชำรุดห้ามซ่อมแซมโดยใช้ตะปูหรือลวดโดยเด็ดขาด เพราะสิ่งเหล่านี้นำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
รองเท้านิรภัยสำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้
รองเท้านิรภัยสำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้เป็นรองเท้าสำหรับใช้ในพื้นที่บริเวณที่มีหรือสงสัยว่ามีสารหรือของผสมที่ไวไฟ โดยรองเท้าชนิดนี้จะป้องกันไฟฟ้าสถิติที่เกิดขึ้นจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งอาจจะเกิดการเหนี่ยวนำ ซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดการระเบิดหรือลุกไหม้ขึ้นได้ รองเท้าประเภทนี้จะมีค่าความด้านทานไฟฟ้าได้ในอัตราต่างๆ หลายระดับ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องทราบข้อมูลระดับความเสี่ยงอันตรายของสถานที่ทำงาน เพื่อเลือกใช้รองเท้าที่มีระดับความต้านทานไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานของรองเท้าเซฟตี้
อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันเท้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO หรือมาตรฐานสหภาพยุโรป EN 20345 ซึ่งเป็นมาตรฐานของการทดสอบรองเท้านิรภัยให้มีคุณสมบัติพื้นฐานหลักๆ คือ แผ่นเสริมป้องกันการเจาะทะลุ 1,100N หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J และกันแรงบีบอัดบนเท้า 15kN เป็นต้น ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีกฎหมายและข้อบังคับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย
มาตรฐานรองเท้านิรภัย EN345 หรือ EN ISO 20345
เป็นมาตรฐานข้อบังคับหลักของสหภาพยุโรป โดยมีข้อกำหนดคุณสมบัติที่หลากหลายและการทดสอบอย่างเข้มงวด ทำให้การแบ่งกลุ่มรองเท้านิรภัยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีข้อกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานมีดังนี้
หัวรองเท้าหัวเหล็กกล้า มีคุณสมบัติต้านการกระแทกได้ 200J (Steel Toe Caps Impact 200 Joules)
วัสดุเสริมพื้นรองเท้า แผ่นรองพื้นระหว่างชั้นนอกและชั้นในสามารถทนแรงทะลุได้ 1,100 นิวตัน (Midsole Pierce Resistance : 1,100N)
พื้นรองเท้าชั้นนอกมีคุณสมบัติทนน้ำมันและสารเคมี (Oil and Acid Resistant Outsole)
พื้นรองเท้าชั้นนอกมีคุณสมบัติทนความร้อนได้ 160 °C, 360 °C (Outsole Resistance to Hot Contact)
พื้นรองเท้าชั้นนอกมีคุณสมบัติกันลื่น (Anti Slip Outsole)
กันไฟฟ้าสถิต (Anti Static Shoes)
หนังรองเท้าสามารถระบายอากาศได้ (Breathable Leather Upper)
นอกจากนี้รองเท้านิรภัยมาตรฐานยุโรป EN ISO 20345 เป็นรองเท้าหัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J หรือระดับป้องกันสูงสุด ที่แบ่งออกเป็น Class I และ Class II ซึ่งในแต่ละ Class จะมีสัญลักษณ์และคุณสมบัติเพิ่มเติมอื่นๆ อีก
ประเภทรองเท้า | สัญลักษณ์ | คุณสมบัติการป้องกัน |
Class I ทำจากหนังและวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติหรือพอลิเมอร์สังเคราะห์ | SB | ความปลอดภัยพื้นฐาน หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J |
S1 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J ป้องกันไฟฟ้าสถิต และส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก |
S1P | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J มีชั้นตรงกลางของพื้นรองเท้า ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันไฟฟ้าสถิต และส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก |
S2 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J ป้องกันไฟฟ้าสถิต ส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก และกันน้ำ |
S3 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J มีชั้นตรงกลางของพื้นรองเท้า ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันไฟฟ้าสถิต ส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก กันน้ำ และพื้นรองเท้าด้านนอกแบบมีปุ่ม |
Class II ทำจากยางหรือพอลิเมอร์สังเคราะห์ | SฺB | ความปลอดภัยพื้นฐาน หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J และกันน้ำ |
S4 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J ป้องกันไฟฟ้าสถิต และพื้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก |
S5 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J มีชั้นตรงกลางของพื้นรองเท้า ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันไฟฟ้าสถิต ส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก กันน้ำ และพื้นรองเท้าด้านนอกแบบมีปุ่ม |
สัญลักษณ์และคุณสมบัติพิเศษนอกเหนือจากมาตรฐานข้างต้นเพิ่มเติมอื่นๆ ดังนี้
P | พื้นรองเท้าเสริมเหล็กป้องกันการเจาะทะลุ 1,100 นิวตัน |
C | รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตแบบตัวนำ |
A | รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต |
HI | รองเท้ามีฉนวนป้องกันความร้อน |
CI | รองเท้ามีฉนวนป้องกันความเย็น |
E | พื้นรองเท้าสามารถช่วยดูดซับแรงกระแทกส้นเท้าได้ 20 จูล |
WRU | ส่วนบนรองเท้าป้องกันน้ำซึมเข้ารองเท้า |
HRO | พื้นรองเท้าทนความร้อน 300 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที |
ORO | พื้นรองเท้าป้องกันน้ำมัน |
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. (TIS)
เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย ซึ่งในปัจจุบันมาตรฐานรองเท้านิรภัย (Leather Safety Footwear) เลขที่ มอก. 523-2554 จะครอบคลุมเฉพาะรองเท้าหนังนิรภัยที่ทำด้วยหนังแท้หรือหนังเทียมเท่านั้น โดยกำหนดประเภท แบบ ชนิด สัญลักษณ์ วัสดุ และการทำ คุณลักษณะที่ต้องการ นอกจากนี้ยังรวมถึงกำหนดการบรรจุ เครื่องหมายและฉลาก การชักตัวอย่าง เกณฑ์ตัดสิน และการทดสอบ ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานรองเท้านิรภัยของสหภาพยุโรป หรือ EN ISO 20345
รองเท้านิรภภัยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม TIS หรือ มอก. 523-2554 โดยมีข้อกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานคร่าวๆ ดังนี้
บัวหัว (Toe Cap) เป็นส่วนประกอบสำหรับป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานที่จะเกิดกับนิ้วเท้าของผู้สวมโดยออกแบบให้ป้องกันอันตรายที่เกิดจากแรงกระแทกและแรงกดทับ 200 จูล
แผ่นป้องกันการแทงทะลุ (Penetration Resistant Insert) แผ่นวัสดุที่ใส่เสริมลงในพื้นรองเท้าสำหรับกันการแทงทะลุของของแหลมหรือของมีคมต้องไม่น้อยกว่า 1100 นิวตัน
ความต้านไฟฟ้าสถิต (Antistatic) วัสดุที่มีความต้านไฟฟ้าตั้งแต่ 100 กิโลโอห์ม ถึง 1,000,000 กิโลโอห์ม
วัสดุส่วนบน (Upper) ป้องกันหลังเท้าสามารถต้านทานการขัดสี (Abrasion Resistance
พื้นรองเท้า (Sole) ผ่านการทดสอบด้านความทนการฉีกขาด ความทนการขัดสี (Abrasion Resistant), มีความต้านทานความร้อน (Heat Resistant), การดูดซับแรงกระแทก (Shock Absorption) ,ความต้านทานน้ำมัน (Oil Resistance) และมีความต้านทานสารเคมีชนิดที่กำหนดไว้แล้ว (Acid Resistant)
สัญลักษณ์และคุณสมบัติของพื้นรองเท้านิรภัย มาตรฐาน มอก. 523-2554 (2011)
สัญลักษณ์ | รายการลักษณะพิเศษ |
S | ประเภทธรรมดา |
P | ประเภทเสริมแผ่นป้องกันการแทงทะลุ มากกว่า 1,100N |
A | ประเภทมีความต้านทานไฟฟ้าสถิต |
PA | ประเภทเสริมแผ่นป้องกันการแทงทะลุและต้านไฟฟ้าสถิต |
มาตรฐานรองเท้านิรภัย JIS
มาตรฐานรองเท้านิรภัย JIS เป็นมาตรฐานความปลอดภัยญี่ปุ่นจะแบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน คือ
JIS T8101 สำหรับรองเท้าเซฟตี้ (Safety Shoes) และ JIS T8103 สำหรับรองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยหน่วยงานภาครัฐ (Japanese Industrial Standards Committee : JISC) โดยกำหนดใช้ในงานอุตสาหกรรมซึ่งรองรับการใช้งานรูปแบบต่างๆ ดังนี้
มาตรฐานรองเท้านิรภัย JIS T8101 แบ่งตามลักษณะการทำงานได้ทั้งหมด 4 ประเภท
มาตรฐานรองเท้านิรภัย JIS T8101 |
ประเภทงาน | งานหนักพิเศษ | งานหนัก | งานทั่วไป | งานเบา |
สัญลักษณ์ (Class) | U (JIS T8101 : 2020) | H | S | L |
ความทนทานของหัวรองเท้า | ต้านทานแรงกระแทก | 200J | 100J | 70J | 30J |
น้ำหนักวัตถุ | 20 ± 0.2 kg |
ความสูงของวัตถุตกใส่ | 102 cm | 51 cm | 36 cm | 15 cm |
ต้านทานแรงบีบอัด | 15kN | 10kN | 4.5kN |
การยุบตัวของช่องว่างระหว่างขอบหัวรองเท้าด้านบนกับพื้นรองเท้า | ≥ 14.0 mm (อ้างอิงจาก size 26.0 cm) |
ความต้านทานแรงดึงลอกระหว่างพื้นรองเท้ากับหนังส่วนบน | ≥ 300N | ≥ 250N |
รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต JIS T8103
เป็นมาตรฐานรองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตของญี่ปุ่น โดยแบ่งประเภทตามลักษณะการป้องกันออกเป็น 2 ประเภท คือ รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตชนิดสลายประจุไฟฟ้า และ รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตชนิดตัวนำประจุไฟฟ้า
รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต JIS T8103 |
ประเภทรองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต | สัญลักษณ์ | ความต้านทานไฟฟ้า R (Ω) ที่อุณหภูมิ 23 ± 2 °C | ความต้านทานไฟฟ้า R (Ω) ที่อุณหภูมิ 0 °C |
รองเท้าป้องกันชนิดสลายประจุไฟฟ้าสถิต (Static Dissipative) | รุ่นทั่วไป | ED | 1.0×105≦R≦1.0×108Ω | 1.0×105≦R≦1.0×109Ω |
รุ่นพิเศษ | EDX | 1.0×105≦R≦1.0×107Ω | 1.0×105≦R≦1.0×108Ω |
>รองเท้าป้องกันชนิดตัวนำประจุไฟฟ้า (Conductive) | EC | R<1.0×105Ω | R<1.0×105Ω |
สัญลักษณ์ | รายการ | คุณสมบัติของพื้นรองเท้าเซฟตี้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน JIS |
E | ซับแรงกระแทก | พื้นรองเท้าสามารถดูดซับแรงกดส้นเท้าได้ 20J |
F1 | กันลื่น | ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์มากกว่า 0.20 และไม่เกิน 0.30 |
F2 | ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์มากกว่า 0.30 |
P | แผ่นเสริมกันเจาะทะลุ | ป้องกันการเจาะทะลุได้ 1,100N |
C | ต้านทานการตัด | การต้านทานจากแรงตัดของเลื่อยยนต์ |
M | แผ่นครอบกระบังหน้ารองเท้า | ป้องกันแรงกระแทกหลังเท้าได้ 100J |
BO | ต้านทานน้ำมัน | พื้นรองเท้าป้องกันน้ำมัน |
UO | วัสดุส่วนบนป้องกันน้ำมัน |
H | ต้านทานความร้อน | พื้นรองเท้าทนความร้อน 300 °C นาน 1 นาที |
HI1, HI2 | รองเท้ามีฉนวนป้องกัน | รองเท้ามีฉนวนป้องกันความร้อน |
CI1, CI2 | รองเท้ามีฉนวนป้องกันความเย็น |
มาตรฐานรองเท้านิรภัย JSAA
JSAA (Japan Safety Appliances Association) เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่น เพื่อสอบสวนและส่งเสริมอุปกรณ์ความปลอดภัย โดยองค์กรนี้ก็ได้รับการไว้วางใจจาก ISO และ JIS
มาตรฐานรองเท้านิรภัย JSAA สำหรับรองเท้านิรภัยประเภทผ้าใบ (Protective Sneaker) และรองเท้าบูทนิรภัย (Protective Boots) ที่หัวรองเท้าเป็นโลหะหรือหัวเรซิ่นป้องกันแรงกระแทกและแรงบีบนิ้วเท้า ซึ่งจะรองรับการใช้งาน 2 แบบ ดังนี้
มาตรฐานรองเท้านิรภัย JSAA |
ประเภทงาน | งานทั่วไป | งานเบา |
สัญลักษณ์ (Class) | S | L |
ความทนทานของหัวรองเท้า | ต้านทานแรงกระแทก | 70J | 30J |
น้ำหนักวัตถุ | 20 ± 0.2 kg |
ความสูงของวัตถุตกใส่ | 36 cm | 15 cm |
ต้านทานแรงบีบอัด | 10kN | 4.5kN |
การยุบตัวของช่องว่างระหว่างขอบหัวรองเท้าด้านบนกับพื้นรองเท้า | ≥ 14.0 mm (อ้างอิงจาก size 26.0 cm) |
ความต้านทานแรงดึงลอกระหว่างพื้นรองเท้ากับหนังส่วนบน | ทำจากหนังและยาง | ≥ 300N | ≥ 250N |
ทำจากหนังเทียม หนังสังเคราะห์ ผ้าถัก และพลาสติก | ≥ 200N | ≥ 150N |
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของคุณสมบัติเพิ่มเติมอื่นๆ ตามมาตรฐานรองเท้าเซฟตี้ผ้าใบ JSAA
สัญลักษณ์ | คุณสมบัติของพื้นรองเท้าเซฟตี้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน JSAA |
| พื้นรองเท้าสามารถดูดซับแรงกระแทกของส้นเท้าได้ 20J |
| ป้องกันการลื่น ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานจลน์มากกว่า 0.20 |
| ป้องกันการเจาะทะลุ 1,100N |
| ต้านทานไฟฟ้าสถิตที่อุณหภูมิ 23 ± 2 °C มีค่าความต้านทานไฟฟ้า R (Ω) 1.0×105≦R≦1.0×108 |
| ป้องกันน้ำซึมเข้าด้านในรองเท้า *เฉพาะรองเท้าเซฟตี้ผ้าใบแบบบูท (Protective Boots)* |
วิธีการวัดขนาดไซส์รองเท้าเซฟตี้ / รองเท้านิรภัยด้วยตนเอง
การวัดขนาดเท้าด้วยตนเองจะช่วยให้เราสามารถเทียบขนาดและเลือกซื้อรองเท้าได้ง่ายยิ่งขึ้น
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม คือ ดินสอหรือปากกา กระดาษ ไม้บรรทัด
วางเท้าบนกระดาษเปล่าโดยให้ส้นเท้าแนบชิดผนังหรือกำแพงให้เหมือนกับท่ายืนปกติ
(สำหรับผู้ที่สวมใส่รองเท้าร่วมกับถุงเท้าเป็นประจำ แนะนำให้ใส่ถุงเท้าวัดขนาดขณะใส่ถุงเท้า)
นำปากกาขีดเส้นตรงหรือทำสัญลักษณ์ในแนวตั้งฉากที่ปลายเท้าตรงส่วนนิ้วเท้าที่ยาวที่สุด
ใช้ไม้บรรทัดหรือสายวัดจากกำแพงมาถึงปลายเท้าที่ทำสัญลักษณ์ไว้ และอ่านค่าความยาวที่ได้เป็นหน่วยเซนติเมตร หลังจากนั้นนำไปเทียบกับตารางวัดขนาดไซส์รองเท้าเซฟตี้ หรือ รองเท้านิรภัยของแบรนด์ต่างๆ ได้ทันที อ่านความยาวที่วัดได้เป็นหน่วยเซนติเมตร และนำไปเทียบกับตารางวัดขนาดไซส์รองเท้าเซฟตี้ หรือ รองเท้านิรภัยของแบรนด์นั้นๆ เพื่อดูว่าค่าใดตรงกันหรือใกล้เคียงกับค่าที่วัดมากที่สุด
อักษรย่อมาตรฐานตารางไซส์รองเท้า |
JP | ระบบมาตรฐานไซส์รองเท้าของญี่ปุ่น (หน่วยเซนติเมตร : cm.) |
US | ระบบมาตรฐานไซส์รองเท้าของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา |
UK | ระบบมาตรฐานไซส์รองเท้าของอังกฤษ |
EU | ระบบมาตรฐานไซส์รองเท้าของยุโรป |
การดูแลรักษารองเท้าเซฟตี้
ก่อน-หลังใช้งานให้ตรวจเช็คสภาพการใช้งานของรองเท้าเซฟตี้ให้เป็นกิจวัตร
ใช้แปรงขนนุ่มหรือผ้าสะอาดเช็ดฝุ่นและคราบสกปรกที่เกาะบนรองเท้าออกอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นขัดรองเท้าซ้ำอีกครั้งด้วยครีมขัดรองเท้า เพื่อปรับสภาพและปกปองหนังรองเท้าให้มีความยืดหยุ่น คงทน และมีอายุการใช้งานนานขึ้น
หลีกเลี่ยงการใช้งานผิดประเภทหรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผลิตภัณฑ์กำหนดไว้ เพราะอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง
ควรเก็บรองเท้าเซฟตี้ไว้ในที่แห้งและเก็บเข้าที่ให้เป็นเระเบียบ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้งานในครั้งถัดไป